สรุปแผนปฏิบัติการร่วมแม่น้ำโขงปลอดภัยเพื่อการควบคุมยาเสพติด 6
ประเทศ
กัมพูชา จีน สปป.ลาว เมียนมา ไทย เวียดนาม
--------------------------------------------------------------
ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 – 2561)
ด้วย ครม. ได้มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ
ได้แก่ ประเทศจีน ลาว เมียนมา ไทย กัมพูชา และ เวียดนาม ระยะเวลา 3 ปี (2559 –
2561)
เมื่อ 19 ม.ค. 59 ตามที่ สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรี เรื่อง
แผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ ระยะเวลา 3 ปี
สรุปได้ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ จีน ลาว เมียนมา ไทย
กัมพูชา และ เวียดนาม ระยะเวลา 3 ปี (2559 – 2561)
มีรายละเอียดดังนี้
1.1 วัตถุประสงค์
1.1.1 เพื่อสนับสนุน
การปฏิบัติการปิดล้อม ตรวจค้น สกัดกั้นและการสืบสวนหาข่าว
พฤติการณ์ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดพื้นที่ตามลำแม่น้ำโขงและพื้นที่ต่อเนื่อง
1.1.2 เพื่อสนับสนุนหน่วยงานปฏิบัติการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อย่างมีประสิทธิภาพ
และการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
1.1.3 เพื่อลดระดับปัญหาการลักลอบลำเลียงยาเสพติด
การค้า การแพร่ระบาดยาเสพติด ในพื้นที่ตามลำแม่น้ำโขงและพื้นที่ต่อเนื่อง
และลดปัญหาการลำเลียงสารตั้งต้น เคมีภัณฑ์ และอุปกรณ์ การผลิตยาเสพติด
1.1.4 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจแก่ประชาชน
ในการดำเนินการปราบปราม ยาเสพติดอย่างจริงจังของรัฐบาลแต่ละประเทศ
1.1.5 เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดในแต่ละประเทศ
1.2 เป้าหมาย
1.2.1 ปฏิบัติการในพื้นที่ส้าคัญที่ติดกับแม่น้ำโขง
และพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ เพื่อสกัดกั้น สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตยาเสพติดให้ได้มากที่สุด
1.2.2 การกดดันกลุ่มผู้ผลิตยาเสพติดในพื้นที่ผลิตยาเสพติดได้ยากขึ้น
รวมทั้งทำลาย แหล่งผลิตหรือทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
1.2.3 สกัดกั้นยาเสพติดที่ผลิตแล้วไม่ให้ถูกลักลอบนำออกจากแหล่งผลิต
เพื่อตัดตอน และ ทำลายรายได้ของกลุ่มผู้ผลิตและผู้ค้ายาเสพติด
1.2.4 สร้างความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ที่ปราบปรามยาเสพติดของ
6 ประเทศ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดร่วมกันอย่างมีเอกภาพ
2. กรอบความคิด มี 4 กรอบ คือ
2.1 การมองพื้นที่ปฏิบัติการในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
เป็นพื้นที่เดียวกัน
เพื่อให้สามารถบูรณาการแผนปฏิบัติการได้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2.2 กำหนดพื้นที่ดำเนินการสามวง วงใน
เป็นพื้นที่ผลิตยาเสพติดในรัฐฉาน วงกลาง
เป็นพื้นที่ทางผ่านยาเสพติดเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากสามเหลี่ยมทองคำ วงนอก
เป็นพื้นที่นำเข้าสารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์
2.3 ความร่วมมือในการสกัดกั้นสารตั้งต้น เคมีภัณฑ์
และอุปกรณ์การผลิตยาเสพติด
2.4 ดำเนินการต่อเนื่องระยะยาว คือ
กำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ ๓ ปี และขยายพื้นที่ ให้ครอบคลุม โดยเชิญ
กัมพูชาและเวียดนามเข้าร่วมด้วย
3. มาตรการ และแนวทางการปฏิบัติ
3.1 มาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การสกัดกั้นสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด (เฮโรอีน ไอซ์ และยาบ้า) ไม่ให้เข้าสู่แหล่งผลิต กำจัดเส้นทางการลักลอบลำเลียงยาเสพติดของแต่ละประเทศสกัดกั้นเรือที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงยาเสพติด กำจัดพื้นที่พักและแพร่กระจายยาเสพติด คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายที่มีปัญหายาเสพติด เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาทางเลือกตามความเหมาะสม และหมู่บ้านคู่ขนานตามแนวชายแดน เป็นต้น
3.1 มาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การสกัดกั้นสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด (เฮโรอีน ไอซ์ และยาบ้า) ไม่ให้เข้าสู่แหล่งผลิต กำจัดเส้นทางการลักลอบลำเลียงยาเสพติดของแต่ละประเทศสกัดกั้นเรือที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงยาเสพติด กำจัดพื้นที่พักและแพร่กระจายยาเสพติด คัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายที่มีปัญหายาเสพติด เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาทางเลือกตามความเหมาะสม และหมู่บ้านคู่ขนานตามแนวชายแดน เป็นต้น
3.2 แนวทางปฏิบัติ
3.2.1 การควบคุมและสกัดกั้นสารตั้งต้น เคมีภัณฑ์ และอุปกรณ์การผลิตยาเสพติด
3.2.2 การกำจัดการลักลอบลำเลียงยาเสพติดทางบก
3.2.3 การกำจัดการลักลอบลำเลียงยาเสพติดตามลำแม่น้าโขง
3.2.4 การกำจัดการผลิตและการค้ายาเสพติด
3.2.5 ให้มีการพัฒนาทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับหมู่บ้านเป้าหมาย
3.2.6 การเพิ่มประสิทธิภาพและขยายการดำเนินการของโครงการแม่น้าโขงปลอดภัย
3.2.1 การควบคุมและสกัดกั้นสารตั้งต้น เคมีภัณฑ์ และอุปกรณ์การผลิตยาเสพติด
3.2.2 การกำจัดการลักลอบลำเลียงยาเสพติดทางบก
3.2.3 การกำจัดการลักลอบลำเลียงยาเสพติดตามลำแม่น้าโขง
3.2.4 การกำจัดการผลิตและการค้ายาเสพติด
3.2.5 ให้มีการพัฒนาทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับหมู่บ้านเป้าหมาย
3.2.6 การเพิ่มประสิทธิภาพและขยายการดำเนินการของโครงการแม่น้าโขงปลอดภัย
4. แผนงานโครงการ และกิจกรรมที่สำคัญ
4.1 แผนที่ 1 แผนควบคุม สกัดกั้นสารตั้งต้น เคมีภัณฑ์
4.2 แผนที่ 2 แผนสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดผ่านแม่น้าโขงและพื้นที่สำคัญ
4.3 แผนที่ 3 แผนสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดทางบก
4.4 แผนที่ 4 แผนสืบสวน ปราบปรามกลุ่มผู้ผลิตและผู้ค้าที่สำคัญ
4.5 แผนที่ 5 แผนสนับสนุนมาตรการและการพัฒนาพื้นที่
4.6 แผนที่ 6 การพัฒนา การบริหารจัดการ และอำนวยการ
4.1 แผนที่ 1 แผนควบคุม สกัดกั้นสารตั้งต้น เคมีภัณฑ์
4.2 แผนที่ 2 แผนสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดผ่านแม่น้าโขงและพื้นที่สำคัญ
4.3 แผนที่ 3 แผนสกัดกั้นการลำเลียงยาเสพติดทางบก
4.4 แผนที่ 4 แผนสืบสวน ปราบปรามกลุ่มผู้ผลิตและผู้ค้าที่สำคัญ
4.5 แผนที่ 5 แผนสนับสนุนมาตรการและการพัฒนาพื้นที่
4.6 แผนที่ 6 การพัฒนา การบริหารจัดการ และอำนวยการ
สรุปผลการดำเนินงาน
ตาราง 1 ผลการสกัดกั้น จับกุมคดียาเสพติด และสารเคมี (2559
- 2561)
ตาราง 2 ผลการสกัดกั้น จับกุมคดียาเสพติด และสารเคมี (2559
- 2561) จำแนกรายประเทศ
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑
1. แม้ว่าสมาชิกทั้ง 6 ประเทศ สามารถสกัดกั้น ปราบปรามยาเสพติดจากแหล่งผลิตสามเหลี่ยมทองคำได้เป็นจ้านวนมาก
แต่จากการประมวลสถานภาพของการดำเนินงานในภาพรวม จำแนกได้ ดังนี้
1.1
ปริมาณการผลิตยาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำในช่วง 2 ปีหลัง
มีการผลิตเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตสามารถขยายตลาดยาเสพติดไปยังประเทศทั้งในและนอกภูมิภาคได้มากขึ้น โดยใช้
ช่องทางขยายไปยังประเทศที่เป็นตลาดใหม่ เช่น บังคลาเทศ ออสเตรเลีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น
1.2 สารตั้งต้นและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด
ยังอยู่ในภาวะที่สามารถจัดหาเข้าไปในแหล่งผลิตยาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำได้
อันเนื่องมาจากกลุ่มผู้ผลิตและนักเคมี สามารถใช้สารตัวใหม่ที่
ยังไม่มีการควบคุมเพียงพอ มาแทนที่สารตัวเดิมที่ถูกสกัดจับได้
ทำให้กลุ่มผู้ผลิตสามารถใช้สารตั้งต้นและ สารเคมีได้ทั้งตัวเดิมและตัวใหม่
1.3 โครงสร้างกลุ่มผู้ผลิตและค้ายาเสพติดระดับสำคัญในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
ยังไม่ถูก ลดทอนศักยภาพมากนัก ท้าให้ยังมีศักยภาพดำเนินการด้านยาเสพติดได้อีก
1.4 ความร่วมมือของ 6
ประเทศในการดำเนินการต่อพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ จากพื้นฐานของ ระบบและการทำงานของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันในช่วงแรก
เมื่อได้ดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิด ก็สามารถพัฒนาความร่วมมือได้มากขึ้น
มีความไว้วางใจกันเพิ่มขึ้น สร้างระบบและกลไกความร่วมมือ ทั้งในด้าน
การข่าว การปฏิบัติงานร่วม การขยายผลการจับกุมร่วม การพัฒนาบุคลากรร่วม
รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ ประสานงานอำนวยการร่วมกัน อย่างเป็นผลสำเร็จ
ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีในระยะต่อไป
1.5 อย่างไรก็ตาม
การดำเนินการสร้างแนวปิดล้อมการผลิตยาเสพติดต่อพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ของ 6 ประเทศ
ยังมีบางแห่งที่ยังเป็นข้อจำกัด และยังไม่ได้ด้าเนินการอย่างเต็มที่
จึงเป็นช่องว่างที่สำคัญสำหรับกลุ่มผู้ผลิตและค้ายาเสพติดใช้ในการขนส่งสารตั้งต้น
สารเคมีและยาเสพติดไปยัง
แหล่ง ปลายทาง
1.6
ด้านการกระจายตัวยาเสพติดจากพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำในช่วง 3
ปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า
1.6.1 ยาบ้า
มีการกระจายตัวไปยังประเทศจีน เมียนมา สปป.ลาว และไทย มากขึ้น
ขณะที่ไอซ์กระจายตัวไปยังประเทศจีน และเวียดนามมาก
1.6.2 เฮโรอีน
ส่วนใหญ่มีการกระจายตัวไปทางเหนือ ได้แก่ ประเทศจีน และเวียดนาม
1.6.3 กัญชา
มีการกระจายตัวมากใน สปป.ลาว ที่ต่อกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย
1.6.4 สารเคมี
ปรากฏมากในพื้นที่ประเทศจีน และเมียนมา
ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2562 – 2565)
แผนปฏิบัติการร่วมแม่น้ำโขงปลอดภัยนี้เป็นการจัดขึ้นจากการระดมความคิดเห็นร่วมกันของสมาชิก 6
ประเทศ
เพื่อสรุปและวางทิศทางความร่วมมือแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ร่วมกัน
โดยสำนักงาน ป.ป.ส. ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งแรก ระหว่างวันที่ 8 -
12 เมษายน
2561 และได้ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา โดยที่ประชุมของทั้ง ๖
ประเทศสมาชิกได้เห็นชอบร่วมกันในกรอบ ความคิดมาตรการสำคัญ ๆ
เพื่อเป็นยุทธศาสตร์ในการดำเนินการร่วมกันต่อไปในอนาคตข้างหน้า
แนวโน้มของสถานการณ์ยาเสพติดใน 4 ปี ข้างหน้า
จากการประมาณการสถานการณ์ยาเสพติดและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถประมาณการ แนวโน้มของสถานการณ์ใน 4 ปีข้างหน้า ได้ดังนี้
1. มีข้อบ่งชี้ว่า
การผลิตยาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำใน 4 ปีข้างหน้า ยังมีปัจจัยเกื้อกูล ที่สามารถดำรงศักยภาพการผลิตได้อีก
โดยมีปัจจัยสภาพแวดล้อมในด้านต่าง ๆ เป็นตัวเสริม ทั้งปัจจัย การเมือง
และปัจจัยความมั่นคง
2.
ยาเสพติดสังเคราะห์มีแนวโน้มจะถูกผลิตมากขึ้นในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
ทั้งเพื่อสนองความต้องการของตลาดในประเทศต่าง ๆ และการขยายไปสู่ตลาดใหม่ที่สำคัญ
ได้แก่ ไอซ์ ยาบ้า เคตามีน ในขณะที่ ยาเสพติด ที่มีพื้นฐานจากพืช เช่น เฮโรอีน และฝิ่น
เป็นต้น ยังมีภาวะการขยายตัวที่จำกัด เพราะมีตัวแปรทาง ธรรมชาติเป็นปัจจัยกำหนด
3.
การเพิ่มขึ้นของยาเสพติดประเภทสังเคราะห์ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 3 ปัจจัย ได้แก่
นักเคมี สารเคมี และพื้นที่ผลิต มีข้อบ่งชี้ว่า
นักเคมีจากประเทศนอกภูมิภาคกำลังเข้ามามีบทบาทต่อการผลิต ยาเสพติดสังเคราะห์ชนิดต่างๆ
มากขึ้น และอาจใช้สารเคมีใหม่ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมของฝ่ายเจ้าหน้าที่
ของหลายประเทศ ซึ่งจะทำให้สถานการณ์การผลิตยาเสพติดมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
4.
การขยายตัวของยาเสพติดสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ
อาจจะนำไปสู่ความเชื่อมโยงของกลุ่มการค้ายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำกับกลุ่มการค้านอกภูมิภาค
ทั้งกลุ่มการค้าอัฟริกัน และกลุ่มการค้าออสเตรเลีย
จนอาจเป็นโครงสร้างการค้าที่มีความเชื่อมโยงกับภูมิภาคต่าง ๆ
และอาจเป็นเงื่อนไขการขยาย ตลาดผู้เสพอีกช่องทางหนึ่ง
5.
ทิศทางการขยายตลาดยาเสพติดจากพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ จะกระจายทิศทางมากขึ้น ได้แก่
การกระจายตัวไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของสามเหลี่ยมทองคำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน และบังคลาเทศ ในขณะที่การกระจายตัวลงมาทางใต้
จะมุ่งสู่ปลายทางอีกหลายประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย
ซึ่งมีแนวโน้มการกระจายตัวที่สำคัญในอนาคต การกระจายทิศทางในลักษณะนี
ทำให้ประเทศไทย สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา จะอยู่ในฐานะประเทศทางผ่านของยาเสพติด
อีกสถานะหนึ่ง
ส่งผลให้เครือข่ายการค้ายาเสพติดข้ามชาติสร้างเครือข่ายในประเทศเหล่านี มากขึ้น
และจะสัมพันธ์กับการกระทำผิดในด้านอื่น ได้แก่ เครือข่ายอาชญากรรม ค้ามนุษย์
และฟอกเงิน
6. ในระยะ 4
ปีข้างหน้า ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสื่อสารทาง Social
Media ความเชื่อมโยงของระบบคมนาคมขนส่งโลจิสติกส์ต่าง ๆ
จะทำให้ทุกประเทศทั้งในภูมิภาคและนอกภูมิภาค อยู่ในภาวะไร้พรมแดนมากขึ้น
สิ่งเหล่านี อีกด้านหนึ่งเป็นปัจจัยเกื้อกูลที่จะทำให้เครือข่ายการผลิต
และค้ายาเสพติด สารเคมีต่าง ๆ ในหลายประเทศ มีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
หากระบบ การปราบปรามของหน่วยปราบปรามยาเสพติดทุกประเทศ
ไม่สามารถก้าวทันความเจริญก้าวหน้า ได้อย่างทัดเทียมกลุ่มผู้กระทำผิดกฎหมายเหล่านี
ก็จะเป็นช่วงห่างของศักยภาพการปราบปรามยาเสพติด ในภาพรวม
7.
การสร้างสันติภาพ การเจรจาปรองดองระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กับรัฐบาลเมียนมา
จะเป็นเงื่อนไข สำคัญต่อแนวโน้มการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
หากสามารถยุติปัญหาได้มากขึ้นเท่าใด โอกาสของการแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกมาตรการก็สามารถดำเนินการได้มากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งจะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดในภาพรวม
8. ในระยะ 4
ปีข้างหน้า
หากความร่วมมือ การประสานงานและการสนับสนุนของ 6 ประเทศกลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศนอกภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบของยาเสพติดจากสามเหลี่ยมทองคำ จะสามารถพัฒนา
ศักยภาพและยกระดับไปสู่การปิดล้อมพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำได้มากขึ้นเท่าใด โอกาสของการลดเงื่อนไข
ของยาเสพติดในพื้นที่จะเป็นไปได้มากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งถือเป็นการสร้างเงื่อนไขผนึกกำลังร่วมของทุกประเทศที่ ได้รับผลกระทบในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย มาตรการ
แผนปฏิบัติการร่วมแม่น้ำโขงปลอดภัยเพื่อการควบคุมยาเสพติด 6 ประเทศ
ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2562 - 2565) : กัมพูชา จีน สปป.ลาว เมียนมา ไทย เวียดนาม
เป็นแผนต่อเนื่องจากความร่วมมือของ 6 ประเทศ ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่เห็นพ้องกันว่า
ปัญหายาเสพติดยังเป็นภัยต่อเนื่องที่ส่งผลต่อประชาชนในภูมิภาคและนอกภูมิภาค
ที่จะต้องผนึกกำลังกัน ร่วมกันแก้ไขปัญหาให้เป็นผลสำเร็จ จึงได้ร่วมกันกำหนด
กรอบความคิดและยุทธศาสตร์ร่วมกัน ดังนี
1. กรอบความคิด
กำหนด ๔ กรอบความคิดหลัก ได้แก่
1.1 กำหนดกรอบการแก้ไขปัญหายาเสพติด
ซึ่งเป็นโจทย์ร่วมของทุกประเทศเป็นปัญหาหลัก
1.2 กำหนดกรอบพื้นที่ยาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำ เป็นกรอบหลักที่สมาชิกทั้ง 6
ประเทศ
ยึดถือร่วมกัน
1.3 การแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
ไม่สามารถด้าเนินการได้ โดยประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงลำพัง
ผลสำเร็จจะบังเกิดขึ้นได้จากการที่ทุกประเทศสมาชิกจะต้องผนึกกำลังร่วมกัน
อย่างมียุทธศาสตร์ และความเป็นหนึ่งเดียว ภายใต้คำขวัญ "one mission
one goal one family"
1.4 ใช้กรอบความคิดต่อยอด ขยายผล เพิ่มศักยภาพจากการแก้ไขปัญหาของ 6
ประเทศสมาชิกในช่วงที่ผ่านมาเป็นทุนเพื่อพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในอนาคต
2. ยุทธศาสตร์ สกัดกั้นยาเสพติด
สารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ด้วยการผนึกกำลังการพัฒนาศักยภาพ
การยกระดับความร่วมมือกันของสมาชิก 6 ประเทศ
3. วัตถุประสงค์
3.1
ลดศักยภาพการผลิตยาเสพติดประเภทต่าง ๆ ในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
3.2 ความร่วมมือของสมาชิกทั้ง
6 ประเทศ ในการสกัดกั้น ปิดล้อมยาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
มีนัยยะสำคัญต่อการลดสถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่
3.3
พัฒนาความร่วมมือของสมาชิกทั้ง 6 ประเทศให้เป็นแบบอย่าง (Model) ของการแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกัน
และได้รับการยอมรับจากประชาคมยาเสพติดระหว่างประเทศ
4. เป้าหมาย กำหนดเป้าหมายการปฏิบัติของประเทศสมาชิกทั้ง
6 ประเทศ ดังนี
4.1 มีผลการจับกุมยาเสพติด
สารตั้งต้นและสารเคมีในพื้นที่ปฏิบัติการมียอดรวมที่สูงขึ้นในแต่ละปี
4.2 ทุกประเทศสมาชิกนำยุทธศาสตร์ มาตรการ
แนวทางและกิจกรรมที่กำหนดในแผนปฏิบัติการร่วมฯ ไปปฏิบัติอย่างชัดเจนในแต่ละปี
4.3 ทุกระบบปฏิบัติการที่กำหนดในแผนปฏิบัติการร่วมฯ
ได้รับการปฏิบัติและมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
4.4 ประเทศที่ได้รับผลกระทบให้การสนับสนุน ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
กับประเทศสมาชิกตามแผนการสนับสนุนมาตรการและพัฒนาพื้นที่
5. พื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการ
5.1 ก้าหนดพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการให้ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถจัดวางกำลังการปฏิบัติของประเทศสมาชิกที่จะดำเนินการสกัดกั้น
ปิดล้อมพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำได้โดยตรง
5.2 กำหนดพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการในแผนปฏิบัติการร่วมฯ
เป็นกรอบกว้างครอบคลุมพื้นที่การปฏิบัติการ 4 ปี
โดยในแต่ละปี อาจมีการก้าหนดเป้าหมายเฉพาะเจาะจง ที่ต้องการมุ่งเน้นตามสถานการณ์ปัญหาในแต่ละห้วงตามความเห็นร่วมกันของประเทศสมาชิก
5.3 พื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการใน 4 ปี มีดังนี
5.3.1 กัมพูชา : จังหวัดสตึงเตรง จังหวัดพระวิหาร
จังหวัดตาแก้ว
5.3.2 ประเทศจีน : มณฑลยูนนาน
5.3.3 สปป ลาว : แขวงหลวงน้ำทา แขวงบ่อแก้ว แขวงพงสาลี
แขวงเชียงขวาง แขวงหัวพัน แขวงไซยะบูลี แขวงเวียงจันทน์
แขวงบอลิคำไซ แขวงคำม่วน แขวงสะหวันนะเขต แขวงสาละวัน
แขวงจำปาสัก
5.3.4 เมียนมา : รัฐฉาน
จังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง
5.3.5 ประเทศไทย : จังหวัดตาก
จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา
จังหวัดน่าน จังหวัดลำพูน จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดเลย
จังหวัดหนองคาย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดศรีสะเกษ
5.3.6 เวียดนาม : จังหวัดเดียนเบียน
จังหวัดเซินลา จังหวัดฮหว่าบิ่ญ จังหวัดทัญฮว้า จังหวัดเหงะอาน
จังหวัดห่าติ๋ญ จังหวัดกวางจิ จังหวัดไตนิง และ จังหวัดอานซาง
6. กำหนด ๔
จุดเน้นการปฏิบัติ ได้แก่
6.1 เน้นการวางแนวการสกัดกั้น
ปิดล้อมในเส้นทางบกและทางน้ำที่มีต่อพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ
6.2 เน้นการสกัดกั้น
ควบคุมสารตั้งต้นและสารเคมีเพื่อตัดเงื่อนไขการผลิตยาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำ
6.3 เน้นการทำลายเครือข่ายการผลิตรายสำคัญและตัดวงจรทางการเงิน
6.4 เน้นการพัฒนาศูนย์ประสานงานแม่น้ำโขงปลอดภัยและพัฒนาระบบปฏิบัติการร่วม
7. มาตรการ กำหนด 7
มาตรการต่อเนื่องจากแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย 6 ประเทศ ระยะเวลา 4
ปี
(2562 - 2565) ดังนี
มาตรการที่ 1 การสกัดกั้น ควบคุมสารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์
มาตรการที่ 2 การสกัดกั้นเส้นทางทางบกและด่านชายแดน
มาตรการที่ 3 การสกัดกั้นพื้นที่เสี่ยงตามแนวชายแดน
มาตรการที่ 4 การปราบปรามเครือข่ายการผลิตและค้ายาเสพติด
มาตรการที่ 5 การสกัดกั้นยาเสพติดผ่านแม่น้ำโขง
มาตรการที่ 6 การสนับสนุนมาตรการและความช่วยเหลือ
มาตรการที่ 7 การพัฒนาศูนย์ประสานงานแม่น้ำโขงปลอดภัยและการพัฒนาระบบ