ไทย-เมียนมา ลงนามการประชุมวิชาการ ร่วมมือแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน
และดูแลคุ้มครองตามมาตรฐานสากล ป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
วันที่ 19 มกราคม 2562 นางเพชรรัตน์ สินอวย อธิบดีกรมการจัดหางาน ลงนามบันทึกการประชุมระดับวิชาการเมียนมา-ไทย ร่วมกับ U Win Shein อธิบดีกรมแรงงาน กระทรวงแรงงาน ตรวจคนเข้าเมือง และประชากร สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หลังจากได้มีการประชุม ระหว่างวันที่ 18 - 19 มกราคม 2562 ณ กรุงเนปิดอว์
บรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยมิตรภาพที่ดีของทั้ง 2 ฝ่ายและเห็นชอบร่วมกันในสาระสำคัญ ดังนี้
1. การจัดส่งแรงงานประมงเข้ามาทำงานตาม MOU ซึ่งนายจ้าง/ผู้ประกอบการไทยยังมีความต้องการอยู่เป็นจำนวนมาก
2. การระบุหลักเกณฑ์ในหนังสือแจ้งความต้องการ (Demand
Letter) ในการขอนำแรงงานเมียนมาเข้ามาทำงานในประเทศไทย
3. การนำเข้าตาม MOU จ้างงานระยะสั้น เพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการแรงงานภาคเกษตรกรรม เช่น ไร่อ้อย ที่ไม่สามารถอนุญาตให้แรงงานเมียนมาเข้ามาทำงานไป-กลับ/ตามฤดูกาลในจังหวัดที่ไม่ติดชายแดน
4. การจัดเตรียมแรงงานเมียนมาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานของนายจ้าง/สถานประกอบการของไทยที่มีจำนวนมาก
5. การกำหนดค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนในการนำเข้าแรงงานตาม MOU ของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดความชัดเจน ตรวจสอบได้
6. การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของแรงงานเมียนมาที่จะเดินทางมาทำงานในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศทั้งด้านสังคมและความมั่นคงของชาติ
7. การตรวจสุขภาพแรงงานเมียนมา จากประเทศต้นทาง เนื่องจากปัจจุบันการตรวจสุขภาพดำเนินการเฉพาะเมื่อแรงงานเดินทางถึงประเทศไทย
8. การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราวของทางการเมียนมา ณ จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งขณะนี้ฝ่ายไทยอยู่ระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ให้ความเห็นชอบก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
9. การตรวจสอบบริษัทจัดหางานและนายจ้างที่เอารัดเอาเปรียบและแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงาน
10. การบังคับใช้กฎหมายกับนายจ้างและตัวแทนบริษัทจัดหางานที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง เช่น การส่งแรงงานเมียนมาไปทำงานซึ่งไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งความต้องการ
11. การแก้ไขปัญหากรณีสัญญาจ้างงานยังไม่สิ้นสุดทำให้แรงงานต้องถูกส่งกลับเนื่องจากนายจ้าง หรือบริษัทจัดหางานลดจำนวนแรงงาน หรือกรณียกเลิกการจ้างงาน
ทั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะได้ร่วมมือกันในการดำเนินการตามผลการประชุมในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻
บรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยมิตรภาพที่ดีของทั้ง 2 ฝ่ายและเห็นชอบร่วมกันในสาระสำคัญ ดังนี้
1. การจัดส่งแรงงานประมงเข้ามาทำงานตาม MOU ซึ่งนายจ้าง/ผู้ประกอบการไทยยังมีความต้องการอยู่เป็นจำนวนมาก
2. การระบุหลักเกณฑ์ในหนังสือแจ้งความต้องการ (Demand
Letter) ในการขอนำแรงงานเมียนมาเข้ามาทำงานในประเทศไทย
3. การนำเข้าตาม MOU จ้างงานระยะสั้น เพื่อแก้ไขปัญหาความต้องการแรงงานภาคเกษตรกรรม เช่น ไร่อ้อย ที่ไม่สามารถอนุญาตให้แรงงานเมียนมาเข้ามาทำงานไป-กลับ/ตามฤดูกาลในจังหวัดที่ไม่ติดชายแดน
4. การจัดเตรียมแรงงานเมียนมาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานของนายจ้าง/สถานประกอบการของไทยที่มีจำนวนมาก
5. การกำหนดค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนในการนำเข้าแรงงานตาม MOU ของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้เกิดความชัดเจน ตรวจสอบได้
6. การตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของแรงงานเมียนมาที่จะเดินทางมาทำงานในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับทั้งสองประเทศทั้งด้านสังคมและความมั่นคงของชาติ
7. การตรวจสุขภาพแรงงานเมียนมา จากประเทศต้นทาง เนื่องจากปัจจุบันการตรวจสุขภาพดำเนินการเฉพาะเมื่อแรงงานเดินทางถึงประเทศไทย
8. การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราวของทางการเมียนมา ณ จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งขณะนี้ฝ่ายไทยอยู่ระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ให้ความเห็นชอบก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
9. การตรวจสอบบริษัทจัดหางานและนายจ้างที่เอารัดเอาเปรียบและแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงาน
10. การบังคับใช้กฎหมายกับนายจ้างและตัวแทนบริษัทจัดหางานที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง เช่น การส่งแรงงานเมียนมาไปทำงานซึ่งไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งความต้องการ
11. การแก้ไขปัญหากรณีสัญญาจ้างงานยังไม่สิ้นสุดทำให้แรงงานต้องถูกส่งกลับเนื่องจากนายจ้าง หรือบริษัทจัดหางานลดจำนวนแรงงาน หรือกรณียกเลิกการจ้างงาน
ทั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะได้ร่วมมือกันในการดำเนินการตามผลการประชุมในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻✻